

♦ การบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)
♦ การบริหารท้องถิ่น (ป.บท.)
♦ หลักสูตรพุทธศาสบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
♦ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
– ภาคปกติ
– ภาคเสาร์-อาทิตย์
♦ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา
♦ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
๑ พระภิกษุ-สามเณร
(๑) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
(๒) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
(๓) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๔) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
(๕) เป็นพระสังฆาธิการ หรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
(๖) เป็นพระสังฆาธิการ หรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสำเร็จ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือ
(๗) เป็นผู้สอบได้นักธรรมชั้นเอก และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ เทียบเท่า และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตแล้วต้องศึกษาวิชาบาลี ไม่น้อยกว่า ๕ หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๘) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่ได้รับ ประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตแล้ว ต้องศึกษาวิชาบาลีไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๙) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรซึ่งมีคุณวุฒิเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายจากมหาวิทยาลัย
(๑๐) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับ สาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
(๑๑) ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถานศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย
๒ คฤหัสถ์ (บุคคลทั่วไป)
(๑) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม หรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
(๒) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม หรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
(๓) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม หรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยอื่นรับรอง หรือ
(๔) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
(๕) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตแล้วต้องศึกษาวิชาบาลี ไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๖) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรซึ่งมีคุณวุฒิเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากมหาวิทยาลัย
(๗) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
(๔) ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถานศึกษาใดๆ เพราะความผิดทางความประพฤติ หรือวินัย
๑ รอบโควตา
– การรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
– ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๘
– รายงานตัว และชำระค่าลงทะเบียน วันที่ ๑๐-๑๔ มีนาคม ๒๕๖๘
๒ รอบยื่นแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
– การรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๘
– ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๘
– รายงานตัว และชำระค่าลงทะเบียน วันที่ ๑๘-๒๑ เมษายน ๒๕๖๘
๓ รอบสอบสัมภาษณ์
– การรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๘
– ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๘
– สอบสัมภาษณ์ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘
– ประกาศผลสอบ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๘
– รายงานตัว และชำระค่าลงทะเบียน วันที่ ๑๕-๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๘
๔ รอบขยายโอกาสทางการศึกษา
– การรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๘
– ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๘
– สอบสัมภาษณ์ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘
– ประกาศผลสอบ วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๘
– รายงานตัว และชำระค่าลงทะเบียน วันที่ ๕-๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๘
๑ สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน ๒ ฉบับ
๒ สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ฉบับ
๓ สำเนาหนังสือสุทธิ จำนวน ๑ ชุด
๔ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน ๑ ฉบับ
๕ สำเนาใบประกาศนียบัตรนักธรรม/บาลี/ธรรมศึกษา (ถ้ามี) จำนวน ๑ ฉบับ
๖ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับนิสิตต่างประเทศ จำนวน ๑ ชุด
๗ รูปถ่ายสี ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง พระภิกษุสามเณรห่มคลุม จำนวน ๓ รูป